วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ลายเพลงพื้นฐานของดนตรีพื้นบ้านอีสาน

ตัวอย่างลายเพลงบรรเลงสำหรับวงโปงลาง
๑ ลายโปงลาง
๒ แม่ฮ้างกล่อมลูก
๓ บายศรีสู่ขวัญ
๔ รำเข็นฝ้าย
๕ นกไซบินข้ามทุ่ง
๖ แมงภู่ตอมดอกไม้
๗ น้ำโตนตาด
๘ สีทันดร
๙ ภูไทลำ
๑๐ เต้ยธรรมดา
๑๑ เต้ยโขง
๑๒ เต้ยพม่า
๑๓ เต้ยหัวโนนตาล
๑๔ รำไหว้ธาตุ
๑๕ ลมพัดพร้าว
๑๖ ลมพัดไผ่ (ศรีโคตรบูรณ์)
๑๗ เซิ้งชัยภูมิ(ภูไทสามัคคี)
๑๘ รำตังหวาย
๑๙ ไทภูเขา
๒๐ ลมพัดไผ่ (รำพัด)
๒๑ สาวคอยอ้าย



อ้างอิง www.youtube.com
http://www.student.chula.ac.th
www.isan.clubs.chula.ac.th

รูปภาพของฉัน

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


คีย์ลายใหญ่
ลายใหญ่ หมายถึงทำนองที่อยู่ในบันไดเสียงทุ้มต่ำ ภาษาไทย-ลาว เรียกเสียงทุ้มต่ำว่า เสียงใหญ่... เสียง ลา เป็นเสียงทุ้มต่ำที่สุดในแคนแต่ละเต้า เมื่อลายใหญ่มีเสียง ลา เป็นศูนย์กลางของทำนอง จึงมีชื่อเรียกว่า ลายใหญ่....
ลายใหญ่ มีเสียงลาต่ำ (เสียง A เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทำนอง ใช้โน้ตในทำนองได้เพียง 6 โน้ต คือ ล ท ด ร ม ซ
เสียงฟา เป็นเสียงส้มของลายใหญ่ ... “ส้ม” หมายถึง เปรี้ยว เสียงส้ม หมายถึง เสียงที่ไม่เข้าพวกกับเสียงอื่นเมื่อบรรเลงทำนอง หากนำเสียงนี้มาใช้ร่วมทำนอง จะฟังดูแปร่งๆ หู เปรี้ยวหู ก็เลยเรียกว่าเสียงส้ม
เสียงฟา เมื่อนำมาใช้ในคีย์ลายใหญ่ จะไม่เข้าพวกเขา.... หากจะให้เข้าพวกจริงๆ ต้องเป็นเสียงฟาชาร์ป (F#)
อีกอย่างหนึ่ง ทำนองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทำนองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่งโน้ตหลัก 5 โน้ตของลายใหญ่คือ “ล ด ร ม ซ” ส่วนลายเพลงที่มี 6 โน้ต (เพิ่มเสียง ท) และ 7 โน้ต (เพิ่มเสียง ท และ ฟ) จะมีน้อย ถ้ามีบรรเลง ก็เป็นเพลงที่ยืมทำนองมาจากถิ่นอื่น หรือเป็นลายเพลงกำเนิดใหม่
มาตราเสียงของลายใหญ่ จัดอยู่ใน “A Mode” (คือเพลงจบลงด้วยเสียง ลา ... เมื่อเทียบลา = A) ออกสำเนียงไมเนอร์ หรือจะว่าเป็นบันไดเอไมเนอร์ ก็ไม่ผิด



คีย์ลายน้อย
ลายน้อย หมายถึงทำนองที่อยู่ในบันไดแหลมสูง ภาษาไทย-ลาว เรียกเสียงแหลมว่า เสียงน้อย... เสียง เร ซึ่งเป็นเสียงศูนย์กลางของทำนองลายน้อย แหลมกว่าเสียงลา ของทำนองลายใหญ่ จึงได้ชื่อว่า ลายน้อย เพราะมีเสียงแหลมกว่าลายใหญ่
ลายน้อย ก็คือทำนองลายใหญ่ ที่เลื่อนบันไดเสียง จาก เอโหมด มาเป็น ดีโหมด นั่นเอง และออกสำเนียงไมเนอร์เหมือนกัน
ลายน้อย มีเสียงเรต่ำ (เสียง D เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทำนอง ใช้โน้ตในทำนองได้ครบทั้ง 7 โน้ต คือ ร ม ฟ ซ ล ท ด
อย่างไรก็ตาม ทำนองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทำนองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่งโน้ตหลัก 5 โน้ตของลายน้อยคือ “ร ฟ ซ ล ด” ส่วนลายเพลงที่มี 6 โน้ต (เพิ่มเสียง ม) และ 7 โน้ต (เพิ่มเสียง ม และ ท) จะมีน้อย ถ้ามีบรรเลง ก็เป็นเพลงที่ยืมทำนองมาจากถิ่นอื่น หรือเป็นลายเพลงกำเนิดใหม่
มาตราเสียงของลายน้อย จัดอยู่ใน “D Mode” (คือเพลงจบลงด้วยเสียงเร ... เมื่อเทียบเร = D) ออกสำเนียงไมเนอร์ หรือจะว่าเป็นบันไดดีไมเนอร์ ก็ไม่ผิด



คีย์ลายเซ
ลายเซ คือทำนองลายใหญ่ ที่เลื่อนบันไดเสียง จากเอโหมด มาเป็นอีโหมด หรือ คือทำนองลายน้อย ที่เลื่อนบันไดเสียง จาก ดีโหมด มาเป็น อีโหมด และออกสำเนียงทางไมเนอร์เหมือนกัน
ลายเซ ที่ได้ชื่อว่า ลายเซ เพราะมีทำนองบางตอน เซออกนอกมาตราเสียง ทำให้ฟังดูแปร่งๆ หู และที่เซออกนอกมาตรานี้ ก็เนื่องจากว่า บันไดลายเซ มีเสียงไม่ครบ7 โน้ต ทำให้บางตอน ที่หมอแคนใช้โน้ตเสียงส้มของลายเซ ฟังดูแปร่งๆ หู ดูเหมือนเซออกนอกทำนอง แล้ววกกลับเข้ามาหาทำนองใหม่
ลายเซ มีเสียงมีต่ำ (เสียง E เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทำนอง ใช้โน้ตในทำนองได้เพียง 6 โน้ต คือ ม ซ ล ท ด ร
เสียงฟา เป็นเสียงส้มของลายเซ ... “ส้ม” หมายถึง เปรี้ยว เสียงส้ม หมายถึง เสียงที่ไม่เข้าพวกกับเสียงอื่นเมื่อบรรเลงทำนอง หากนำเสียงนี้มาใช้ร่วมทำนอง จะฟังดูแปร่งๆ หู เปรี้ยวหู ก็เลยเรียกว่าเสียงส้ม
เสียงฟา เมื่อนำมาใช้ในคีย์ลายเซ จะไม่เข้าพวกเขา.... หากจะให้เข้าพวกจริงๆ ต้องเป็นเสียงฟาชาร์ป (F#)
อีกอย่างหนึ่ง ทำนองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทำนองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่งโน้ตหลัก 5 โน้ตของลายเซคือ “ม ซ ล ท ร” ส่วนลายเพลงที่มี 6 โน้ต (เพิ่มเสียง ฟ) และ 7 โน้ต (เพิ่มเสียง ฟ และ ด) จะมีน้อย ถ้ามีบรรเลง ก็เป็นเพลงที่ยืมทำนองมาจากถิ่นอื่น หรือเป็นลายเพลงกำเนิดใหม่
มาตราเสียงของลายเซ จัดอยู่ใน “E Mode” (คือเพลงจบลงด้วยเสียง มี ... เมื่อเทียบมี = E) ออกสำเนียงไมเนอร์ หรือจะว่าเป็นบันไดอีไมเนอร์ ก็ไม่ผิด



คีย์ลายสุดสะแนน
ลายสุดสะแนน เป็นลายที่เวลาบรรเลงแล้ว ทุกครั้งที่จบลายเพลง ต้องลงที่เสียงซอล อันเป็นเสียงหลักของทำนอง เสมอ และลูกแคนเสียงซอลนี้ มีชื่อว่า สะแนน เมื่อเพลงจบ หรือสิ้นสุดลงที่ลูกสะแนน จึงเรียกลายนี้ว่า “ลายสุดสะแนน” ซึ่งสื่อความหมายว่า สิ้นสุดเพลงที่ลูกสะแนน....
ส่วนอีกความหมายหนึ่งของลายสุดสะแนน คือ ลายนี้เป็นลายที่ไพเราะมากๆ เป็นที่สุดของที่สุดของลายแคนทั้งหลาย ถือว่าเป็นลายชั้นครูของแคน เพราะเล่นได้ยากกว่าลายอื่นใดทั้งหลาย หมายถึงบรรเลงให้ได้ระดับชั้นครูนั้น ยาก... ใครเล่นได้ ก็ถือว่าสุดยอดทางการเป่าแคนเลยทีเดียว ดังนั้น บรรดาลายทั้งหลาย ยากสุดๆ ก็ลายนี้ ไพเราะสุดๆ ก็ลายนี้ จึงเรียกลายนี้ว่า “สุดสะแนน”..... อันหมายถึง สิ้นสุดของเส้นสายแนน… สาว(ชัก)ดึงสายแนนมาเรื่อยๆ ในที่สุดก็พบจุดสิ้นสุด... จุดสิ้นสุด คือจุดหมายปลายทาง เมื่อพบจุดสิ้นสุดอันเป็นเป้าหมายสุดท้ายแล้ว ถือว่า สิ้นสุดสายแนน.... การฝึกแคนก็เช่นกัน เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ จนฝึกได้ลายที่ยากที่สุด อันเป็นลายชั้นครูของแคนแล้ว การฝึกแคนนั้น ก็ถือว่าสุดสายแนน เช่นกัน... สายแนนก็คือสะแนน ... สุดสายแนน ก็คือสุดสะแนน (เกี่ยวกับสายแนน ขอให้ค้นดูจากวรรณคดีอีสาน เรื่อง สายแนนนาแก่น)
ลายสุดสะแนน มีเสียงซอล (เสียง G เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทำนอง ใช้โน้ตในทำนอง 6 โน้ต คือ ซ ล ท ด ร ม
เสียงฟา เป็นเสียงส้มของลายสุดสะแนน ... “ส้ม” หมายถึง เปรี้ยว เสียงส้ม หมายถึง เสียงที่ไม่เข้าพวกกับเสียงอื่นเมื่อบรรเลงทำนอง หากนำเสียงนี้มาใช้ร่วมทำนอง จะฟังดูแปร่งๆ หู เปรี้ยวหู ก็เลยเรียกว่าเสียงส้ม
เสียงฟา เมื่อนำมาใช้ในคีย์ลายสุดสะแนน จะไม่เข้าพวกเขา.... หากจะให้เข้าพวกจริงๆ ต้องเป็นเสียงฟาชาร์ป (F#) ซึ่งแคนไม่มีเสียงฟาชาร์ป
อีกอย่างหนึ่ง ทำนองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทำนองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่งโน้ตหลัก 5 โน้ตของลายสุดสะแนนคือ “ซ ล ด ร ม”
บันไดเสียงลายสุดสะแนน ควรเรียกว่าอยู่ในบันไดจีโหมด ออกสำเนียงเมเจอร์ ไม่ใช่บันได จีเมเจอร์ แม้ว่าทำนองจะจบลงที่เสียง ซอล หรือจี และใช้เสียงซอล เป็นเสียงประสานยืน ก็ตาม ถ้าจะจัดเข้าบันไดทางเมเจอร์ ควรจะเรียกว่าอยู่ในบันไดซีเมเจอร์ แต่ใช้เสียงในขั้นที่5 (dominant) คือเสียง G เป็นเสียงเอก (primary tone ไม่ใช่ Tonic) การจัดเช่นนี้ มีเหตุผลตรงที่ ลายสุดสะแนน มีลายใหญ่เป็นเครือญาติทางไมเนอร์ (relative minor) และลายใหญ่มีเสียง A หรือลา เป็น โทนิค หรือเสียงศูนย์กลาง เพราะฉะนั้น ลายสุดสะแนน จึงต้องมีเสียง C หรือ โด เป็นโทนิค จึงจะถูกต้อง บันไดเสียงที่มีเสียงโด หรือ C เป็นโทนิค ก็คือบันไดซีเมเจอร์ นั่นเอง



คีย์ลายโป้ซ้าย
ลายโป้ซ้าย คือทำนองลายสุดสะแนน ที่เลื่อนบันไดจากบันไดจีโหมด มาเป็นบันไดซีโหมด และออกสำเนียงทางเมเจอร์เหมือนกัน
ชื่อลายโป้ซ้าย ตั้งขึ้นตามอากัปกิริยาของผู้เป่าแคน ที่ต้องใช้นิ้วโป้ซ้าย ปิดรูนับของลูกแคนเสียง โด (ลูกที่1 แพซ้าย) ไว้ตลอดเวลาที่บรรเลงลายโป้ซ้าย
ลายโป้ซ้ายมีเสียงโด (เสียง C เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทำนอง ใช้โน้ตในทำนองได้ครบทั้ง 7 โน้ต คือ ด ร ม ฟ ซ ล ท
แต่อย่างไรก็ตาม ทำนองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทำนองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่งโน้ตหลัก 5 โน้ตของลายโป้ซ้ายคือ “ด ร ฟ ซ ล”
บันไดเสียงลายโป้ซ้าย ควรเรียกว่าอยู่ในบันได C Mode ออกสำเนียงMajor ไม่ใช่บันได C Major แม้ว่าทำนองจะจบลงที่เสียง โด หรือ C และใช้เสียงโด เป็นเสียงประสานยืน ก็ตาม ถ้าจะจัดเข้าบันไดทางเมเจอร์ ควรจะเรียกว่าอยู่ในบันได F Major แต่ใช้เสียงในขั้นที่5 (dominant) คือเสียง C เป็นเสียงเอก (primary tone ไม่ใช่ Tonic) การจัดเช่นนี้ มีเหตุผลตรงที่ ลายโป้ซ้าย มีลายน้อยเป็นเครือญาติทางไมเนอร์ (relative minor) และลายน้อยมีเสียง D หรือเร เป็น โทนิค หรือเสียงศูนย์กลาง เพราะฉะนั้น ลายโป้ซ้าย จึงต้องมีเสียง F หรือ ฟา เป็นโทนิค จึงจะถูกต้อง บันไดเสียงที่มีเสียงฟา หรือ F เป็นโทนิค ก็คือบันได F Major นั่นเอง



คีย์ลายสร้อย
ลายสร้อย คือทำนองลายโป้ซ้าย ที่เลื่อนบันไดจากบันไดซีโหมด มาเป็นบันไดดีโหมด และออกสำเนียงทางเมเจอร์เหมือนกัน
ชื่อลายสร้อย น่าจะมาจากภาษาไทยลาว ซึ่ง สร้อย(ส่อย) แปลว่า ฉีกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพราะลายสร้อย คือลายที่ฉีกหรือแตกออกมา จากลายสุดสะแนนและลายโป้ซ้าย แต่เดินทำนองเหมือนทั้งสองลายดังกล่าว ได้ไม่ครบถ้วน อันเนื่องมาจากข้อจำกัดเรื่องช่วงทบเสียงไม่ครบ 2 ช่วงทบดี... จึงถือว่าเป็นเพียง สร้อย หรือส่วนย่อยของลายทั้งสองเท่านั้น
ลายสร้อยมีเสียงเร (เสียง D เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทำนอง ใช้โน้ตในทำนอง 6 โน้ต คือ ร ม ซ ล ท ด
แต่อย่างไรก็ตาม ทำนองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทำนองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่งโน้ตหลัก 5 โน้ตของลายสร้อยคือ “ร ม ซ ล ท”
บันไดเสียงลายสร้อย ควรเรียกว่าอยู่ในบันได D Mode ออกสำเนียงMajor ไม่ใช่บันได D Major แม้ว่าทำนองจะจบลงที่เสียง เร หรือ D และใช้เสียงเร เป็นเสียงประสานยืน ก็ตาม ถ้าจะจัดเข้าบันไดทางเมเจอร์ ควรจะเรียกว่าอยู่ในบันได G Major แต่ใช้เสียงในขั้นที่5 (dominant) คือเสียง D เป็นเสียงเอก (primary tone ไม่ใช่ Tonic) การจัดเช่นนี้ มีเหตุผลตรงที่ ลายสร้อย มีลายเซเป็นเครือญาติทางไมเนอร์ (relative minor) และลายเซมีเสียง E หรือมี เป็น โทนิค หรือเสียงศูนย์กลาง เพราะฉะนั้น ลายสร้อย จึงต้องมีเสียง G หรือ ซอล เป็นโทนิค จึงจะถูกต้อง บันไดเสียงที่มีเสียงซอล หรือ G เป็นโทนิค ก็คือบันได G Major นั่นเอง



อ้างอิง http://www.youtube.com
http://www.isan.clubs.chula.ac.th
http://www.student.chula.ac.th

ที่มาของลายเพลง

ที่มาของลายเพลง


ลาย ในความหมายว่า ทำนองเพลง นั้น ใช้สำหรับเรียกทำนองเพลงต่างๆ คือ เฉพาะทำนองล้วนๆ เรียกว่าลาย เช่น ทำนองเพลงแมงภู่ตอมดอก ก็เรียกว่าลายแมงภู่ตอมดอก ทำนองเพลงแม่ฮ้างกล่อมลูก ก็เรียกว่า ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก เป็นต้น

ลายเพลงพื้นบ้านอีสาน (ที่เป็นลายโบราณจริงๆ) จะใช้โน้ต ๕ โน้ต ในหนึ่งลายเพลง ซึ่งสาเหตุที่เป็นเช่นนั้น คงเนื่องมาจาก เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแต่งเพลง มีโน้ตไม่ครบสเกลดี หรืออาจเนื่องมาจากอารมณ์เพลงของผู้บรรเลงเอง เป็นอารมณ์แบบสนุกสนาน ร่าเริง โน้ตเพลง จึงออกมาแบบลักษณะโน้ตกระโดด เพลงที่ใช้โน้ตครึ่งเสียงจะมีน้อย



ที่มาของลายเพลง

ลายเพลงต่างๆ มักมีที่มาจาก ๔ ประการ คือ ธรรมชาติที่ปราฏเฉพาะ อารมณ์ความรู้สึก ประเพณีต่างๆ และวิถีดำรงชีวิต


๑ ธรรมชาติที่ปรากฏเฉพาะ

ผู้แต่งลายเพลง เมื่อได้เห็น ได้ยิน ได้สัมผัส กับธรรมชาติบางอย่าง เกิดความประทับใจ แล้วถ่ายทอดลักษณะของธรรมชาตินั้นๆ ออกมาเป็นดนตรี เป็นทำนองเพลง เช่น

ลายแมงภู่ตอมดอก
จินตนาการถึงแมลงภู่ โผผินบินวน ตอมดอกไม้ จากดอกนี้ ไปดอกนั้น จากดอกนั้น ไปดอกโน้น ผสานกับดอกไม้ ลู่โอนเอนไหวไปมา ยามต้องลม เมื่อดอกไม้ลู่เอน แมลงภู่ ก็โผบินตามดอกไม้ ให้ภาพธรรมชาติที่สวยงาม


ลายน้ำโตนตาด
จินตนาการถึงสายน้ำตก ที่กระโจนจากที่สูง ลงที่ต่ำ กระทบหินผาด้านล่าง บ้างก็กระทบน้ำที่อยู่ด้านล่าง น้ำกระเซ็น เป็นละออง ฟองฝอย กระจาย ประกอบกับเสียงน้ำไหล เสียงน้ำกระทบหินผา น้ำที่ไหลกระทบหินผา รวดเร็ว ต่อเนื่อง ไม่หยุดนิ่ง


ลายลมพัดไผ่
จินตนาการถึงลำไผ่ ที่โอนเอนไหวตามลม ลำไผ่สูงเรียวยาว โอนเอนไปมา อย่างช้าๆ ประกอบกับ ใบไผ่ต้องลม พลิ้วโบกสะบัดงดงาม แรงลมหนักเบา โยกโอน จังหวะเพลงก็ โยกโอนดุจเดียวกัน


ลายลมพัดพร้าว
จินตนาการถึงยอดมะพร้าว ซึ่งมีก้านมะพร้าวรายรอบ ยามลมโบกพัด ก้านมะพร้าว ไหวเอนนวยนาดไปตามลม ใบเรียวยาวที่เรียงอยู่สองฟากของก้านมะพร้าวสะบัดสั่นระริกน้อยๆ เริงระบำเล่นลม


๒ อารมณ์ความรู้สึก

ผู้แต่ง อาศัยอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง หรืออาจจะจินตนาการถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นดนตรี เป็นทำนองเพลง เช่น

ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก
“นอนซะแม่เยอ หลับตาซะแม่เยอ ผู้สาวเข็ญฝ้าย เดือนหงายถ่าผู้บ่าว...” เสียงแม่หม้ายร้องเพลงกล่อมลูก ดังแว่วมาจากเรือนน้อย อันไกลห่างจากเรือนหลังอื่น...
ลายเพลงนี้ จินตนาการถึงแม่ฮ้าง (แม่หม้าย) ซึ่งยากจนอยู่แล้ว สามียังหนีหาย (หรือตายจาก) ทิ้งลูกน้อยไว้ให้เลี้ยง เมื่อแม่ฮ้างจะออกไปหาอหาร ไปทำงาน ไม่สามารถจะพาลูกน้อยไปด้วยได้ จำต้องกล่อมลูกให้นอนหลับก่อน ทั้งคิดถึงสามี ทั้งห่วงลูกน้อย ทั้งต้องหาเลี้ยงชีวิต... นี่คืออารมณ์ความรู้สึกของแม่ฮ้างขณะกล่อมลูกน้อย... อะไรจะโศกซึ้งปานนี้ อะไรจะรันทดใจ ปานนี้ อะไรจะว้าเหว่ใจปานนี้..


ลายสาวคอยอ้าย
จินตนาการถึงความรักของสาวน้อยชาวบ้าน กับหนุ่มนายากไร้ ชายหนุ่มจำต้องเข้ากรุงเทพฯ หางานทำ หวังเก็บเงินไปแต่งงาน แต่ด้วยเหตุอะไรไม่ทราบ กลับหายไปนานปี ไม่มีข่าวคราว สาวน้อย ด้วยมั่นในรัก มั่นในสัญญา จึงตั้งตาเฝ้ารอคอย ณ บ้านน้อยปลายนา หวังเพียงว่า หนุ่มนาคนรัก สักวันจะหวนคืน ความรู้สึกนี้ คนที่เฝ้าหวัง คนที่รอคอย โดดเดี่ยว เดียวดาย จะเข้าใจดี


๓ ประเพณีต่างๆ

โดยมาก มักแต่งขึ้นเพื่อประกอบชุดรำ จำลองสถานการณ์ประเพณีต่างๆของอีสาน เช่น

ลายเซิ้งบั้งไฟ... จำลองประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งมีการแห่งแหนขบวนบั้งไฟ ก่อนนำไปจุด


ลายตังหวาย (เพี้ยนมาจากตั้งไหว้)... เป็นการรำบูชาผีฟ้าพญาแถน โดยมีเครื่องเซ่นไหว้มาตั้งไว้ด้วย เพื่อให้พญาแถนเมตตา อำนวยความสุข ความอุดมสมบูรณ์ แก่ชาวประชา


ลายผีตาโขน... จำลองประเพณีงานบุญผีตาโขน ของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย


ลายส่วงเฮือ… จำลองประเพณีงานบุญแข่งเรือ ของชาวอีสานแถบลุ่มแม่น้ำ


๔ วิถีดำรงชีวิต

ผู้แต่งอาจหยิบยกเอาการวิถีดำรงชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เด่นๆ มีเอกลักษณ์ชัดเจน ถ่ายทอดได้ง่าย นำมาถ่ายทอดเป็นชุดการแสดง และแต่งทำนองดนตรีประกอบ เช่น

ลายไทภูเขา... แสดงถึงการหาเลี้ยงชีพของชาวเขา โดยเฉพาะเผ่าผู้ไท โดยหยิบเอาการหาหน่อไม้ และเก็บเครือหญ้านาง มาเป็นประเด็น นำเสนอ ซึ่งหนุ่มสาวที่ขึ้นเขาหาหน่อไม้ ก็มีการเกี้ยวพาราสี หยอกล้อ สนุกสนานกันด้วย


ลายแหย่ไข่มดแดง... แสดงถึงการหาอาหารของชาวอีสาน ช่วงหน้าแล้ง ซึ่งอาหารยอดฮิตคือ ไข่มดแดง บอกเล่าตั้งแต่เตรียมอุปกรณ์ ออกจากบ้าน ตระเวนหารังมดแดง แหย่ไข่มดแดง จนกระทั่ง กลับบ้าน ซึ่งนี่คือ หนึ่งในวิถีชีวิตของชาวอีสาน


ไทภูพาน...บอกเล่าถึงเรื่องราวเกี่ยวกับชาวไทภูเขา แถบเทือกเขาภูพาน ว่ามีเผ่าอะไรบ้าง แต่ละเผ่ามีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร


อ้างอิง www.google.com
www.baanmaha.com
http://www.look-esarn.com

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วงดนตรีพื้นบ้านอีสาน


คณะมโหรีอีสาน
คณะมโหรีอีสาน หรือ วงมโหรีอีสาน เป็นวงดนตรีพื้นบ้านอีสาน ซื่งได้รับความนิยม ในยุคก่อนที่โปงลางจะดัง นิยมใช้ประกอบขบวนแห่ต่างๆ ซึ่งเครื่องดนตรีหลักประเภทให้จังหวะ จะคล้ายๆ กันเกือบทุกหมู่บ้านหรือทุกคณะ ส่วนเครื่องดนตรีประเภทบรรเลงทำนอง อาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่า หมู่บ้านไหน จะสามารถเล่นเครื่องดนตรีอะไรได้บ้าง โดยเครื่องดนตรีหลักข







คณะมโหรี อีสานจะประกอบด้วย

*กลองตึ้ง
*รำมะนา
*ฉาบ
*เครื่องดนตรีบรรเลงทำนองอย่างน้อย ๑ ชนิด

เครื่องดนตรีประจำวงมโหรีอีสานที่พบมากคือ
*กลองตึ้ง
*รำมะนา
*ฉาบ
*ฉิ่ง
*ฆ้องโหม่ง
*ซออีสาน
*ปี่
หรือบางคณะอาจใช้
*กลองตึ้ง
*รำมะนา
*ฉาบ
*ฉิ่ง
*พิณ
*แคน
ลายเพลงที่ใช้บรรเลง หลักๆ แล้วจะใช้เพลงมโหรีอีสาน ซึ่งแต่ละวง อาจจะมีลูกเล่น หรือท่วงทำนองแตกต่างกันไป นั่นคือ เพลงหลัก แม้เรียกว่า มโหรีอีสานเหมือนกัน แต่ทำนองเพลง อาจจะไม่เหมือนกัน และนอกจากเพลงมโหรีอีสานแล้ว อาจจะมีลายเพลงอื่นๆ เข้ามาประกอบด้วย









คณะกลองยาวอีสาน
คณะกลองยาว หรือวงกลองยาว ก็เกิดขึ้นก่อนที่โปงลางจะดัง เช่นกัน แต่ปัจจุบัน คณะกลองยาว ก็ได้รับการปรับปรุงพัฒนา ประยุกต์รูปแบบนำเสนอใหม่ และกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ในภูมิภาคอีสาน คณะกลองยาว นิยมใช้สำหรับประกอบขบวนแห่ต่างๆ เช่นเดียวกับวงมโหรีอีสาน
คณะกลองยาว ตามหมู่บ้าน ในสมัยก่อน ใช้กลองยาวเป็นเครื่องดนตรีหลัก โดยใช้กลอง ประมาณ ๓-๕ ลูก ไม่มีพิณหรือแคนบรรเลงลายประกอบ อาศัยลวดลายของ จังหวะกลอง และลีลาการตีฉาบใหญ่ เป็นสิ่งดึงดูด ซึ่งคณะกลองยาวนี้ ยังไม่มีขบวนนางรำ ฟ้อนรำประกอบ (และอาจยังไม่มีชุดแต่งกายประจำคณะ)
เมื่อคณะกลองยาว พัฒนาขึ้นเป็นคณะกลองยาวจริงๆ เพื่อดึงดูดให้เจ้าภาพงานมาว่าจ้าง บางคณะ จึงได้เพิ่มจำนวนกลองขึ้นมา ให้ดูยิ่งใหญ่ขึ้น เช่น ๑๐ ลูกบ้าง ๑๔ ลูกบ้าง ๒๐ ลูกบ้าง และนอกจาก จะให้ผู้ชายตีกลอง บางคณะ อาจใช้ผู้หญิงตีก็มี แต่ในยุคนั้น ยังเป็นการโชว์กลองยาวอยู่ จึงยังไม่มีพิณ แคนบรรเลงประกอบ และยังไม่มีขบวนนางรำ ฟ้อนประกอบ คนตีกลอง จะฟ้อนไปด้วย ตีกลองไปด้วย
คณะกลองยาวในยุคปัจจุบัน ได้นำหลายๆ อย่างประยุกต์ เพื่อให้ดูทันสมัยขึ้น นั่นคือ นอกจากใช้การโชว์กลอง เป็นจุดขายแล้ว ยังขายความบันเทิงอื่นๆ ด้วย เช่น ใช้พิณ แคนบรรเลงประกอบ ใช้อีเล็กโทนบรรเลงประกอบ ใช้เครื่องขยายเสียง เพื่อให้เสียงพิณ หรืออีเล็กโทนดังไกล มีขบวนนางรำ ฟ้อนประกอบขบวนแห่ มีเครื่องแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ และบางคณะ อาจมีการจัดรูปแบบขบวน ตกแต่งรถสำหรับขบวนแห่แบบต่างๆ เป็นต้น ซึ่งนี่คือตัวอย่างแห่งศิลปวัฒนธรรมที่ไม่หยุดนิ่ง

เครื่องดนตรีหลัก ประจำคณะกลองยาว
*กลองยาว
*กลองตึ้ง(บางแห่งก็ไม่ใช้)
*รำมะนา
*ฉิ่ง
*ฉาบเล็ก + ฉาบใหญ่
*พิณ, แคน, หรืออีเล็กโทน,เบส (ประยุกต์ใช้ร่วมคณะกลองยาวในภายหลัง)


วงโปงลาง
คณะโปงลาง หรือนิยมเรียกว่า วงโปงลาง นั้น คาดว่าได้ชื่อนี้มาจาก... เครื่องดนตรีที่ดังที่สุดในวงคือ โปงลาง (กรณีไม่ใช้เครื่องขยายเสียง) ดังนั้น เลยเรียกวงดนตรีนั้นว่า วงโปงลาง หรืออีกที่มาหนึ่ง คือ โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีเด่น กำลังมาแรง เป็นจุดขายของวง จึงตั้งชื่อว่า วงโปงลาง ซึ่งบางแห่ง อาจจะไม่ใช้ชื่อว่าวงโปงลาง แต่ใช้ชื่อว่าวงแคน หรือวงพิณ ก็มี
วงโปงลาง แม้จะใช้ชื่อว่า วงโปงลาง ก็ไม่ได้หมายความว่า มีเฉพาะโปงลางอย่างเดียว แต่มีเครื่องดนตรีอื่นๆ อีกหลายชนิด ร่วมบรรเลง
วงโปงลาง ในสมัยก่อน เป็นแบบพื้นบ้านจริงๆ ไม่มีเครื่องขยายเสียง ใช้เสียงสดๆ ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นเลยทีเดียว ซึ่งเครื่องดนตรีหลักๆ แบบเต็มวง ประกอบด้วย
*โปงลาง
*พิณโปร่ง (ชนิดที่มีกล่องเสียงใหญ่ๆ)
*แคน
*โหวด
*ไหซอง (ยังไม่มีพิณเบส)
*กลองหาง (กลองยาวอีสาน)
*รำมะนา หรือกลองตุ้ม
*หมากกะโหล่ง (หมากป็อกๆ) หรือใช้หมากกั๊บแก๊บ
*ฉาบเล็ก
*ฉาบใหญ่
เสียงดนตรีที่ได้ จะให้ความรู้สึกคลาสิคแบบพื้นบ้านจริงๆ
ต่อมาเมื่อ เมื่อเทคโนโลยีเจริญขึ้น จึงได้ปรับเปลี่ยน ประยุกต์ให้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งเครื่องดนตรีวงโปงลางยุคปัจจุบัน แบบเต็มวง ประกอบด้วย
*โปงลาง
*พิณไฟฟ้า (หรือพิณโปร่งไฟฟ้า)
*แคน
*โหวด
*พิณเบสไฟฟ้า
*ไหซอง (โชว์ลีลานางดีดไห)
*กลองหาง (กลองยาวอีสาน)
*รำมะนา หรือกลองตุ้ม
*หมากกะโหล่ง (หมากป็อกๆ) หรือใช้หมากกั๊บแก๊บ
*ฉาบเล็ก
*ฉาบใหญ่
*แฉ
บางวงใช้เครื่องดนตรีต่อไปนี้ ด้วย
*ฉิ่ง
*ฆ้องโหม่ง
*ปี่ภูไท
*ซอ
*หึน
บางวงที่ประยุกต์เพื่อสนุกสนานบันเทิง ก็อาจใช้
*กลองชุดสากล
*แซคโซโฟน
*กลองยาวติดคอนแท็ค

ลักษณะการแสดงของวงโปงลางพื้นบ้านนั้น หลักๆ จะมี 3 ลักษณะคือ
*การบรรเลงลายเพลงพื้นบ้านอีสาน (นิยมเรียกว่า ลายบรรเลง)
*การฟ้อนประกอบดนตรี (นิยมเรียกว่า ชุดการแสดง)
*การร้อง ลำ ประกอบดนตรี รวมถึงประกอบการฟ้อนรำ

อ้างอิง http://www.isan.clubs.chula.ac.th


www.google.com
www.sema.go.th

ปฏิทินส่วนตัว

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เพลงพื้นบ้านอีสาน

เพลงพื้นบ้าน (Folk Song) คือเพลงของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง และเป็นที่รู้จักกันดีเฉพาะถิ่นนั้นๆ ลีลาการขับร้องหรือการฟ้อนรำจึงมีอิสระทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา จึงเป็นที่นิยมของชาวบ้าน ด้วยสาเหตุที่เพลงพื้นบ้านใช้ภาษาถิ่น ใช้ทำนองสนุก จังหวะเร้าใจ เนื้อหาถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด อุดมการณ์ ความเป็นอยู่และภูมิปัญญาชาวบ้าน
ซึ่งแบ่งออกได้เป็นดังนี้

1. กลุ่มอีสานเหนือ ซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมมาจากกลุ่มวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงที่เรียกว่า กลุ่มไทยลาว หรือกลุ่มหมอลำหมอแคน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากที่สุดในภาคอีสาน






เพลงเซิ้งบั้งไฟ







เซิ้งผีโขน









2. กลุ่มอีสานใต้ แบ่งออกเป็นกลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมเขมร-ส่วย หรือเรียกว่า กลุ่มเจรียง-กันตรึม และกลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือเรียกว่า กลุ่มเพลงโคราช









1. กันตรึม









2. เจรียง หรือจำเรียง






3. เพลงโคราช

www.google.com
www.esan-music.com